เครื่องอัดอากาศและระบบอากาศอัด


เครื่องอัดอากาศ หรือ ระบบอากาศอัด ประกอบไปด้วย ส่วนจัดหาอากาศ ได้แก่ เครื่องอัดอากาศและการปรับปรุงคุณภาพของอากาศ และส่วนต้องการอากาศ รวมถึงระบบจัดเก็บระบบส่ง และอุปกรณ์ที่ใช้อากาศอัด ระบบอากาศอัดประกอบด้วยอุปกรณ์พื้นฐานซึ่งทำหน้าที่แตกต่างกันออกไป ตามรูปด้านล่างจะ แสดงอุปกรณ์โดยทั่วไปที่พบ เห็นในระบบอากาศอัด
ส่วนประกอบของระบบอัดกาศ
  • ครื่องอัดอากาศ (Air Compressor) มีหน้าที่เพิ่มความดันของอากาศ จากความดันบรรยากาศไปสู่ความดันที่ต้องการ จากนั้นส่งจ่ายอากาศอัดไปยังอุปกรณ์ที่ต้องการใช้งานผ่านระบบท่อส่งจ่าย
  • กรองอากาศ (Air Filter) มีหน้าที่กรองฝุ่นผงในอากาศก่อนเข้าเครื่องอัดอากาศเพื่อป้องกันการสึกหรอภายในของเครื่องอัดอากาศ กรองอากาศที่นิยมใช้มีทั้งประเภทที่เป็นไส้กรองแห้ง และที่เป็นไส้กรองเปียกซึ่งจุ่มอยู่ในอ่างน้ำมัน
  • วาล์วนิรภัย (Safety Valve) มีหน้าที่ควบคุมความดันของอากาศไม่ให้สูงจนเกินค่าที่กำหนด (เช่น 1.2 เท่าของความดันใช้งาน) เพื่อป้องกันการเกิดอันตราย โดยวาล์วจะเปิดก็ต่อเมื่อความดันสูงเกินกว่าค่าที่ตั้งไว้ และปิดเมื่อความดันลดลงจนถึงค่าความดันใช้งาน
  • อุปกรณ์เก็บเสียง (Silencer) จะถูกติดตั้งอยู่ที่ท่อทางดูดของเครื่องอัดอากาศเพื่อลดเสียงที่เกิดจากการเคลื่อนที่ของอากาศที่มีความเร็วสูง และเสียงที่เกิดมาจากความถี่สูงจากการทำงานของชิ้นส่วนของเครื่องอัดอากาศ เช่น มอเตอร์ เครื่องยนต์ ใบพัด ฯลฯ
  • อุปกรณ์หล่อเย็น (Intercooler) หากกรณีที่เป็นระบบอากาศอัดแบบหลายขั้น (Stage) จำเป็นต้องมีอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่หล่อเย็นอากาศระหว่างขั้นเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานโดยรวมของระบบ และเพื่อที่จะป้องกันไม่ให้อุณหภูมิของอากาศอัดภายในระบบสูงเกินไป
  • อุปกรณ์กลั่นน้ำ (Aftercooler) จะถูกติดตั้งอยู่ที่ทางออกของเครื่องอัดอากาศเพื่อทำให้อากาศอัดเย็นตัวลงและไอน้ำที่ปะปนอยู่กลั่นตัวออกมา ทำให้อากาศอัดที่ได้แห้งลงและไม่ทำความเสียหายให้แก่อุปกรณ์ที่ใช้งานปลายทาง เช่น ไม่ทำให้เกิดขึ้นสนิม ไม่ทำให้น้ำมันหล่อลื่นของอุปกรณ์ปลายทางเสื่อมสภาพเนื่องจากมีน้ำเข้าไปปะปน
  • อุปกรณ์แยกน้ำ (Separator) มีหน้าที่แยกน้ำออกจากอากาศอัดหลังจากผ่านอุปกรณ์กลั่นน้ำ
  • อุปกรณ์กำจัดความชื้น (Dryer) จะติดตั้งไว้ที่ท่อส่งจ่ายก่อนที่อากาศอัดจะเข้าสู่อุปกรณ์ใช้งานปลายทาง เพื่อให้แน่ใจเลยว่าอากาศอัดนั้นแห้งจริงๆ อุปกรณ์กำจัดความชื้นอาจเป็นอุปกรณ์ที่ใช้หลักการของระบบทำความเย็น (Refrigeration) หรือเป็นอุปกรณ์ที่มีหน้าที่บรรจุสารดูดซับความชื้น เช่น ซิลิกา เจล (Silica Gel) หรือ แอคติเวตเต็ด อลูมินา (Activated Alumina)
  • ถังเก็บอากาศอัด (Receiver Tank) มีหน้าที่ใช้สำหรับเก็บอากาศอัดเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงอัตราการไหลของอากาศอัดซึ่งจะออกจากเครื่องอัดเป็นห้วงๆ หากไม่มีถังเก็บอากาศอัด ความดันของอากาศอัดที่จ่ายออกไปในระบบจะไม่ราบเรียบและอาจสร้างความเสียหายให้แก่อุปกรณ์ใช้งานได้ นอกจากนี้ ถังเก็บอากาศอัดยังทำให้อากาศเย็นตัวลง และไอน้ำในอากาศจะกลั่นตัวเป็นหยดน้ำไหลลงไปอยู่ก้นถัง จึงเป็นการช่วยกำจัดความชื้นออกจากอากาศอัดได้อีกทางหนึ่ง
  • ระบบควบคุม (Control System) มีหน้าที่ควบคุมการทำงานของเครื่องอัดอากาศและอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง
  • ระบบท่อส่งจ่าย (Piping System) มีหน้าที่ส่งจ่ายอากาศอัดไปยังอุปกรณ์ใช้งานปลายทาง
  • อุปกรณ์ที่ใช้อากาศอัด (End-use Equipment) ได้แก่ อุปกรณ์ปลายทางที่ใช้งานเกี่ยวกับอากาศอัด เช่น ตัววาล์วควบคุม เครื่องมืวัด ระบบนิเมติกส์เรื่องพ่นสี เครื่องผสมสารเคมี ฯ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น