ปั๊มลมสกรูเดี่ยว Single screw air compressor


เครื่องปั๊มลมสกรูเดี่ยว ประกอบด้วย screw rotor 1 ตัวและ star gear 2 ชุด ที่ชุดเกียร์ดาว จะประกบด้วยแผ่นเบรด (blade) ทำจากคาร์บอนผสมพิเศษ ใบเบลดจะแนบติดกับเฟืองสกรูโรเตอร์ เมื่อโรเตอร์หมุน ร่องเฟืองซึ่งถูกปิดด้วยใบเบลดจะสั้นลงเรื่อยๆ อากาศที่อยู่ในร่องเฟืองจึงถูกบีบเข้าเรื่อยๆ จนถึงรู discharge

สังเกต ใบเบลดที่มีรูเจาะ ขบกับเฟืองร่องที่ 2 ณ จุดนี้ความยาวร่องเฟืองเหลือประมาญ 1/4 ของแกนเฟือง เมื่อ rotor หมุน ใบเบลดที่มีรูเจาะขบกับเฟืองร่องจะสั้นเข้า ณ จุดนี้ความยาวร่องเฟือง เหลือประมาญ 1/8 ของแกนเฟืองอากาศถูกอัดมากขึ้น เนื่องจากร่องเฟืองสั้นลง เมื่อ rotor หมุน ใบเบลดที่มีรูเจาะ ขบกับ เฟืองร่องจะสั้นเข้า ความยาวร่องเฟือง เหลือประมาญ 1/16 ของแกนเฟือง อากาศถูกอัดเต็มที่ เนื่องจากร่องเฟือง สั้นลงมาก ณ จุดนี้จะมีรู discharge ปล่อยลมอัดออก


ลำดับพัฒนการของปั๊มลมแบบต่างๆ แสดงให้เห็นว่า ปั๊มลมสกรูเดี่ยวเป็นพัฒนาการที่ใหม่กว่า ปั๊มลมสกรูคู่


ฝ่ายผู้ผลิตและพัฒนาระบบสกรูเดี่ยว พยามอธิบายข้อได้เปรียบของเครื่องปั๊มลมสกรูเดี่ยว ว่าดีกว่าสกรูคู่ เช่น แรงกดดัน rotor ของสกรูเดี่ยวจะเกิดขึ้นโดยรอบ ในลักษณะที่สมดุลกัน ส่วนในสกรูคู่แรงกดดัน rotor จะมีเฉพาะด้านบน ซึ่งไม่สมดุลกัน ดังนั้นระบบสกรูเดี่ยวจึงประหยัดพลังงานมากกว่า และการสึกหรอน้อยกว่า

ฝ่ายผู้ผลิตและพัฒนาสกรูคู่ได้โต้แย้ง ข้อได้เปรียบของสกรูคู่ดังนี้
1. ใบเบลดของสกรูเดี่ยว ซึ่งไม่ใช่โลหะ จึงสึกหรอง่ายและมีอายุการใช้งานสั้น
2. การสึกหรอของใบเบลด ทำให้ปั๊มลมมีประสิทธิภาพลดลง 5% - 10% หลังการใช้งานเพียง 3,000 - 4,000 ชั่วโมง
3. ลักษณะเฟือง (rotor profile) ของสกรูเดี่ยวยังต้องปรับปรุง แต่เนื่องจากความที่ไม่นิยมในตลาด จึงขาดเงินอุดหนุนในการวิจัยและพัฒนา ซึ่งปั๊มลมสกรูคู่ได้มีการพัฒนาอย่างมาก
4. ส่วนที่เคลื่นไหวในหัวสกรูเดี่ยวมีมากชิ้น กว่าในปั๊มลมสกรูคู่ การซ่อมบำรุงจึงแพงกว่า 

credit ข้อมูล และ รูปภาพ : เอดีวีฟอเวิด ดอทคอม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น