วิธีการซ่อมบำรุงระบบอากาศอัด



 ระบบอัดอากาศเป็นระบบหนึ่งที่มีการใช้งานในอุตสาหกรรมมาก ซึ่งการส่งไปใช้งานแต่ละ จุดนั้นจะต้องมีการติดตั้งระบบการปรับค่าความดันอากาศอัดให้เหมาะสม การทำ งานของระบบอัดอากาศต้องใช้เครื่องอัดอากาศที่มีกำ ลังในการอัดสูง ส่งผลให้มีต้นทุนในการผลิตสูงตามไปด้วยการหลีกเลี่ยงเพื่อมิให้เกิดการสูญเสียจึงเป็นสิ่งที่สำ คัญยิ่ง จึงต้องมีการตรวจสอบและบำ รุงรักษาอยู่เสมอ

1.การดูแลรักษาเครื่องอัดลม

  1.1 เครื่องอัดลมแบบลูกสูบ SWAN, PUMA, FUSHENG, SUNWA, HITACHI, IWATA 
        - เปิดวาร์วเดรนน้ำใต้ถัง*
        - สังเกตออโต้เดรนใต้ถัง ว่าทำงานปกติหรือไม่*
        - สังเกตแรงดันตัด-ต่อ ว่าปกติตามที่ตั้งไว้หรือไม่
        - สังเกตระดับน้ำมันอยู่กึ่งกลางของช่องมองน้ำมันหรือไม่*
        - ตรวจสภาพเครื่องโดยทั่วไปว่ามีน้ำมันซึมหรือไม่* ทุกๆเดือน -ขันสายไฟให้แน่น*
        - ตรวจเช็คแรงดันไฟฟ้า กระแสไฟฟ้าให้ตรงตามสเปคหรือไม่*
        - เป่ากรองอากาศ* ทุกปี
        - เปลี่ยนกรองอากาศ*
        - เปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่องอัดลม* เพื่อให้เครื่องอัดลมแบบลูกสูบทำงานได้อย่างยาวนาน ควรจะ                  เตรียมกรองอากาศไว้ 1 ชุด,น้ำมันเครื่องปั๊มลม 1 แกลลอน,โซลินอยด์วาร์ว,เพรสเชอร์สวิตซ์                    เพรสเชอร์เกจ ถ้าเกิดมีปัญหาจะได้เปลี่ยนได้ทันที     
        - ถ้าใช้ลม 0.75 คิวต่อนาที ควรใช้เครื่องอัดลมลูกสูบ 10 แรงม้า
        - ถ้าใช้ลม 1 คิว/นาที ควรใช้เครื่องอัดลมลูกสูบ 15 แรงม้า
        - ถ้าใช้ลม 1.5 คิว/นาที ควรใช้เครื่องอัดลมลูกสูบ 20 แรงม้า
        - การจะให้เครื่องอัดลมแบบลูกสูบ จะทำงานได้ดี ก้ต้องให้เครื่องอัดบ้าง หยุดบ้าง อย่าอัดตลอด                เวลาจะพังง่าย
     
1.2. เครื่องอัดลมแบบสกรู AUGUST, COMPTECH, KOBELCO, ATLAS COPCO, HITACHI
       - ทุกสัปดาห์ควรเป่าทำความสะอาดกรองอากาศและชุดระบายความร้อน Air/Oil Cooler
       - ทุกเดือนควรตรวจเช็คความตึงของสายพาน, ตรวจเช็คและขันขั้วสายไฟในตู้ควบคุมและมอเตอร์            ให้แน่นตลอดเวลา
       - ทุก 3 เดือนหรือทุก 2,000 ชม.ควรเปลี่ยนกรองอากาศ, กรองน้ำมัน , น้ำมันหล่อลื่น
       - ทุก 6 เดือนหรือทุก 4,000 ชม. ควรเปลี่ยนชุดแยกน้ำมันออกจากลม, อัดจาระบีลูกปืนมอเตอร์,                   เปลี่ยนสายพาน
       - ทุก 1 ปีหรือทุก 8,000 ชม. ควรเปลี่ยนท่อลม Nylon Tube, ท่ออ่อนลมและน้ำมัน Air & Oil                       Flexible Hose, Solenoid Valve, Oil Level Gauge
       - ทุก 4 ปีหรือทุก 20,000 ชม. ควรทำการ Overhaul ชุดสกรูและมอเตอร์


2.วิธีการดูแลรักษา เมนไลน์ฟิลเตอร์
-สังเกตเมนไลน์ฟิลเตอร์มีรั่วหรือไม่
-สังเกตออโต้เดรนของเมนไลน์ฟิลเตอร์ มีค้างหรือไม่*
-สังเกตเพรสเชอร์ดรอปของเมนไลน์ฟิลเตอร์อย่าให้สูงเกินไป
-เปลี่ยนเมนไลน์ฟิลเตอร์และโอริงปีละหนึ่งครั้ง*
-ถอดเฮ้าซิ่งออกมาทำความสะอาดล้างคราบน้ำ คราบน้ำมัน หรือสนิมออกให้หมด ทาจารบีเพื่อให้ครั้งหน้าถอดเฮ้าซิ่งได้ง่าย*
-เปลี่ยนดิ๊ฟเกจ กรณีที่ดิ๊ฟเกจค้าง เพื่อให้เมนไลน์ฟิลเตอร์ทำงานได้อย่างยาวนาน ควรเตรียมออโต้เดรนไว้ 1 ชุด , ฟิลเตอร์อิลิเม้นท์เกรด 1 ไมครอน 1 ชุด , ฟิลเตอร์อิลิเม้นท์เกรด 0.01 ไมครอน 1 ชุด , โอริง , ดิ๊ฟเกจ ถ้ามีปัญหาจะได้เปลี่ยนได้ทันที

3.วิธีการดูแลรักษาถังลม

-สังเกตเกจและวัดแรงดัน ปกติหรือไม่
-สังเกตออโต้เดรน เดรนปกติหรือไม่*
-สังเกตข้อต่อมีรั่วหรือไม่
-สังเกตแมนโฮลมีรั่วหรือไม่*
-เปิดวาร์วแมนน่วล เพื่อที่จะเช็คน้ำในถังลมว่ามีหรือไม่*
-ล้างสเตรนเนอร์ใต้ถัง*
-ล้างออโต้เดรนลูกลอยใต้ถังลม*
-ทดสอบTESTถังประมาณ 3 ปี/ครั้ง โดยทั่วไปแล้ว TEST ที่ 15 บาร์
-เปลี่ยนปะเก็นที่แมนโฮล
-เปิดถัง ตรวจสอบว่าเป็นสนิมมากน้อยแค่ใหน
เพื่อให้ถังลมทำงานได้อย่างยาวนาน เราควรเตรียมปะเก็นแมนโฮลไว้ 1 ชุด , เพรสเชอร์เกจ 1 ชุด , เซฟตี้วาร์ว 1 ชุด , ออโต้เดรนใต้ถัง ถ้ามีปัญหาจะได้เปลี่ยนได้ทันที

4.วิธีการดูแลรักษาท่อลม

-ให้สังเกตข้อต่อในห้องปั๊มลมว่ามีรั่วหรือไม่*
-ให้สังเกตข้อต่อในไลน์การผลิตว่ามีรั่วหรือไม่*
-ให้สังเกตลูปท่อเมนที่อยู่ด้านบนว่ามีรั่วหรือไม่* -ทาสีท่อลมใหม่
-เปลี่ยนยางยูเนี่ยน หรือเปลี่ยนปะเก็นหน้าจานใหม่
-น่าจะมีการเปลี่ยนท่อลมใหม่ เมื่อท่อลมใช้งานไปประมาณ 10 ปี
เพื่อให้ท่อลมไม่รั่ว ควรเตรียมปะเก็นหน้าจาน ยางยูเนี่ยนปะเก็นยูเนี่ยน เทปพันเกลียว เปอร์มาเท็กซ์ สายสิญจน์ไว้ 1 ชุด ถ้าพบท่อลมรั่วแล้วมีวาร์วบล๊อคจะได้แก้ไขได้ทันที



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น