การเปรียบเทียบ Air Compressor ชนิดลูกสูบและชนิดสกรู


การเปรียบเทียบ Air Compressor ชนิดลูกสูบ (Reciprocating Compressor) และชนิดสกรู (Screw Compressor)

คุณสมบัติเครื่องอัดลม
คอมเพรสเซอร์ชนิดลูกสูบ
(Reciprocating Compressor)
คอมเพรสเซอร์ชนิดสกรู
(Screw Compressor)
เสียงดัง ก่อให้เกิดเสียงดังมากกว่าสกรู เสียงเบาเมื่อเทียบกับลูกสูบ ก่อให้เกิดเสียงรบ
กวนน้อยกว่า
การสั่นสะเทือน สั่นสะเทือนมากกว่า เพราะมีจุดที่เคลื่อนมากกว่า และอาจก่อให้เกิดความเสียหายแก่ตัวอาคารในระยะยาว เงียบเพราะมีส่วนที่เคลื่อนที่น้อย (แบริ่ง)
การซ่อมบำรุง บ่อยครั้งเพราะมีส่วนที่เคลื่อนที่มากชิ้น ส่วนสึกหรอได้มาก นานๆครั้ง เพราะมีส่วนที่เคลื่อนที่ (แบริ่ง) น้อย
กว่าลูกสูบ
ประสิทธิภาพการใช้งาน Valve Plate ซึ่งเป็นส่วนที่สึกหรอตลอดเวลาเมื่อคอมเพรสเซอร์ทำงาน รวมทั้งแหวนลูกสูบเมื่ออุปกรณ์ 2 ชนิดสึกหรอมาก ประสิทธิภาพการทำงานของคอมเพรสเซอร์ก็จะลดลงมาก อาจจะประมาณได้ว่าคอมเสเซอร์ที่มีอายุการใช้งาน 2 ปี สกรูคอมเพรสเซอร์อาจจะกินไฟเพิ่มขึ้น 5-10% ในขณะที่ลูกสูบจะกินไฟเพิ่มขึ้น 30%  ไม่มี Valve Plate และไม่มีแหวนลูกสูบที่จะก่อให้เกิดปัญหาการสึกหรอ เหมือนลูกสูบซึ่งเป็นจุดที่เคลื่อนที่บ่อยครั้ง มีเพียงแบริ่งที่จะต้องเปลี่ยนตามระยะเวลาการใช้งาน ซึ่งปะมาณ 5-10 ปี ถึงจะทำการตรวจสอบและเปลี่ยนขึ้นอยู่กับการใช้งาน
การทำแรงดันลม ให้แรงดันลมต่ำเมื่อเปรียบเทียบกับขนาดคอมเพรสเซอร์ที่เท่ากัน และปริมาณการอัดลมที่เท่ากัน ให้แรงดันลมสูงกว่าลูกสูบถึง 44% เมื่อเปรียบเทียบ
กับปริมาณการอัดลมที่เท่ากันของลูกสูบ
การควบคุมการทำแรงดันลม ลูกสูบใช้ Capacity Control ควบคุมการไหล
ของอากาศภายในเครื่อง โดยทำให้ลูกสูบไม่
สามารถอัดอากาศได้ เกิดเสียงดัง และความ
ร้อนสูง การควบคุมแรงดัน Suction มีค่าไม่คงที่ระบบทำแรงดันโดยรวมสามารถปรับเข้ากับการออกแบบค่อนข้างไม่ใกล้เคียง
สกรูใช้ Slide valve Capacity Control สามารถควบคุม
ให้แรงดัน Suction มีค่าค่อนข้างคงที่ ระบบทำแรงดัน
โดยรวมจึงสามารถปรับให้การทำงานจริงและการออก
แบบใกล้เคียงกัน
การปรับเพิ่มรอบการทำงานของคอมเพรสเซอร์โดยใช้อินเวอร์เตอร์ มีข้อจำกัดไม่สามารถใช้กับความถี่สูงมากได้
(Recommend 60 Hz)
สามารถใช้กับความถี่สูงได้ (70-75 Hz)
การใช้ Economizer หรือ Liquid ไม่มี มี
การเดินสภาวะ Unload ลูกสูบไม่ควรเดินสภาวะ Unload อย่างต่อเนื่องจะเกิดความเสียหายหลายอย่าง เช่น ความร้อน (Over Heat) ที่ฝาสูบ ซึ่ อาจจะทำให้ลิ้นโก่ง เพราะความร้อนจัด สามารถเดินสภาวะ Unload ได้โดยไม่เกิดผลเสียแก่คอมเพรสเซอร์ ซึ่งผลดีในการควบคุมสภาวะการทำงานไม่ให้น้ำมันในระบบทำแรงดันเย็นจัดจะเกนไป ซึ่งถ้าใช้
ลูกสูบต้องอาศัยการ Start – Stop Compressor
บ่อยครั้ง สิ้นเปลืองพลังงานมาก
อุณหภูมิด้าน
Discharge Gas
มี Discharge Gas ที่สูง ทำให้จำเป็นต้องมีระบบระบายความร้อนที่หัวคอมเพรสเซอร์ อาจจะใช้น้ำหรือลมเป่า เพื่อช่วยลดอุณหภูมิ ป้องกันการไหม้ของ Valve Plate และน้ำมันหล่อลื่น มี Discharge Gas ที่ต่ำกว่าด้วยระบบหัวฉีดน้ำมันหล่อลื่น Oil Injection Lubrication ในสกรูที่มีผลทำให้อุณหภูมิของแรงดันด้าน  Discharge ต่ำลงเนื่องจากได้ถ่ายเทความร้อนบางส่วนให้แก่น้ำมัน
ตัวระบายความร้อน
ของน้ำมัน
ไม่มี มี
การเดิน Part Load สิ้นเปลืองน้อยกว่า สิ้นเปลืองมาก
ขนาดการทำแรง
ดันขนาดเล็ก
เหมาะสม ไม่เหมาะสม
ขนาดการทำแรง
ดันขนาดใหญ่
ไม่เหมาะสม เหมาะสม
ขนาดของคอม
เพรสเซอร์
น้ำหนักและขนาดใหญ่กว่าสกรู เมื่อเปรียบเทียบกันที่ค่าแรงดันและปริมาณการอัดที่เท่ากัน มีขนาดเล็กกว่าลูกสูบ เมื่อเปรียบเทียบกันที่ค่าทำแรงดันและปริมาณการอัดที่เท่ากัน
ชิ้นส่วนอะไหล่ ลูกสูบ (Piston)
แหวนลูกสูบ (Piston Ring)
ชาร์ป (Bush)
แบริ่ง (Bearing)
เพลาข้อเหวี่ยง (Crank Shaft)
สกรูตัวผู้ (Male Screw)
สกรูตัวเมีย (Female Screw)
ตลับลูกปืน (Bearing)
ชิ้นส่วนที่สึกหรอ วาล์วไอดี (Inlet Valve)
วาล์วไอเสีย (Exhaust Valve)
แหวนรองวาล์ว (Washer)
ถ้วยกดวาล์ว (Hoder)
ไม่มี

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น