อินเวอร์เตอร์ Inverter คืออะไร

Inverter คืออะไร??? มีหลักการทำงานอย่างไร


อินเวอร์เตอร์ (Inverter) บางครั้งจะเรียกว่า "V/F Control" ยังมีชื่อเรียกอีกหลายอย่างเช่น
VSD  : Variable Speed Drives
VVVF : Variable Voltage Variable Frequency
VC   : Vector Control



อินเวอร์เตอร์ คืออะไร มีหลักการทำงานอย่างไร ???
อินเวอร์เตอร์ (Inverter) จะแปลงไฟกระแสสลับ (AC) จากแหล่งจ่ายไฟทั่วไปที่มีแรงดันและความถี่คงที่ ให้เป็นไฟกระแสตรง (DC) โดยวงจรคอนเวอร์เตอร์ ( Converter Circuit ) จากนั้นไฟกระแสตรงจะถูกแปลงให้เป็นไฟกระแสสลับที่สามารถปรับขนาดแรงดันและความถี่ได้โดยวงจร อินเวอร์เตอร์ (Inverter Circuit) วงจรทั้งสองนี้จะทำหน้าที่แปลงรูปคลื่น และผ่านพลังงานของอินเวอร์เตอร์
โดยทั่วไปแล้วแหล่งจ่ายไฟกระแสสลับมีรูปคลื่นซายน์ แต่รูปเอาท์พุตของอินเวอร์เตอร์ จะมีรูปคลื่นที่แตกต่างจากรูปซายน์ นอกจากนั้นยังมีชุดวงจรควบคุม (Control Circuit) ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของวงจรคอนเวอร์เตอร์และวงอินเวอร์เตอร์ให้เหมาะสมกับคุณสมบัติของ 3-phase Induction motor

ความหนืดของน้ำมันเครื่องสำคัญอย่างไร?

ความหนืดคือคุณสมบัติพื้นฐานที่สำคัญที่จะต้องนำมาพิจารณาเป็นลำดับต้นๆในการเลือกใช้น้ำมันเครื่องให้เหมาะสมกับเครื่องยนต์ น้ำมันเครื่องที่มีความหนืดต่ำจะให้ฟิล์มหล่อลื่นที่บาง ทำให้ไม่สามารถรับภาระน้ำหนักได้มากแต่สามารถแทรกตัวไปตามส่วนต่างๆที่ต้องการหล่อลื่นได้อย่างรวดเร็วและระบายความร้อนได้ดี ช่วยให้เครื่องยนต์ไม่ต้องทำงานหนักมากไป และประหยัดเชื้อเพลิง ในทางกลับกันน้ำมันเครื่องที่มีความหนืดสูงจะให้ฟิล์มหล่อลื่นที่หนาจึงสามารถรับภาระแรงกดได้ดีกว่า แต่ต้องเสียพลังงานในการเฉือนฟิล์มน้ำมันมากขึ้นอีก ทำให้ระบายความร้อนได้ช้าถ้าเป็นรถยนต์ก็อาจทำให้รถวิ่งไม่ออก และสิ้นเปลืองเชื้อเพลิง ตัวอย่างการบอกค่าความหนืดของน้ำมันเครื่อง เช่น 5w-30 และ 10w-40 ตัวเลข 30 และ 40 เป็นตัวเลขที่บ่งบอกค่าของความหนืด 30 จะมีค่าความหนืดต่ำกว่า 40 โดยปรกติแล้วความหนืดจะแปรเปลี่ยนไปตามอุณหภูมิ กล่าวคือความหนืดจะเพิ่มมากขึ้นเมื่อใดที่อุณหภูมิลดลงและความหนืดจะลดลงเมื่ออุณหภูมิเพิ่มมากขึ้น จากปัจจัยดังกล่าวน้ำมันเครื่องที่ใช้กับเครื่องยนต์ต้องทำงานได้ในช่วงที่อุณภูมิกว้าง คือตั้งแต่อุณหภูมิต่ำในขณะที่จอดและดับเครื่องยนต์อยู่เฉยๆ ไปจนถึงช่วงอุณภูมิสูงและร้อนจัดในตอนที่เคองยนต์ต้องทำงานหนัก จึงจำเป็นต้องมีการเติมสารบางชนิดที่จะสามารถช่วยให้ความหนืดมีความคงตัวสูง คือไม่เปลี่ยนแปลงไปตามค่าของอุณหภูมิ อันจะช่วยให้การหล่อลื่นเกิดความประสิทธิภาพสูงสุด ดังนั้น ก่อนเลือกใช้น้ำมันเครื่องทุกครั้ง นอกจากการเลือกยี่ห้อที่เราเชื่อถือได้ มีตรารับรองจากหน่อยงานที่เกี่ยวข้องยังต้องเลือกน้ำมันเครื่องที่มีค่าของความหนืดที่เหมาะสมกับรถยนต์ของคุณๆอีกด้วย

การแบ่งประเภทสารลดฟองทางเคมี




สารลดฟองจำพวกน้ำมัน คือสารลดฟองประเภทที่มีพาหะเป็นสารในกลุ่มน้ำมัน น้ำมันดังกล่าวได้แก่ น้ำมันแร่ น้ำมันพืช น้ำมันขาว หรือน้ำมันชนิดอื่น ๆ ที่ไม่ละลายในตัวนำที่ทำให้เกิดฟอง (ยกเว้น น้ำมันซิลิโคน) สารลดฟองในกลุ่มน้ำมันนี้ มีส่วนประกอบจากพวกไขมัน และอาจมีหรือไม่มีผงซิลิกาที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการลดฟอง ปรกติไขมัน ในกลุ่มนี้มักจะเป็นพวกสารที่อยู่ในกลุ่ม เอธิลีนสเตียราไมด์ ไขมันพาราฟิน ไขมันเอสเธอร์ และไขจากไขมันแอลกอฮอล์ สารลดฟองในกลุ่มนี้อาจมีสารลดแรงตึงผิวเป็นส่วนประกอบอยู่ด้วยเพื่อช่วยปรับปรุงความสามารถในการเกิดอิมัลชั่น และเพิ่มความสามารถในการกระจายตัวบนนผิวของสารที่ทำให้เกิดฟอง สารลดฟองกลุ่มนี้ เป็นสารลดฟองใน อุตสาหกรรมหนัก และใช้ได้ผลดีในการลดฟองบนผิวของเหลวนั้น ๆ 

สารลดฟอง



สารลดฟอง หรือ สารป้องกันการเกิดฟอง คือ สารเคมีปรุงแต่งชนิดหนึ่งที่สามารถใช้ลดหรือขัดขวางการเกิดฟองได้ ในอุตสาหกรรมต่าง ๆ ที่มีของเหลวมาเกี่ยวข้อง นิยามของคำว่าสารป้องกันฟอง (Antifoam) หรือสารลดฟอง (Defoamer) นั้น จะใช้สลับไปมาอยู่บ่อย ๆ ในบางครั้ง

ปั๊มลมสกรูเดี่ยว Single screw air compressor


เครื่องปั๊มลมสกรูเดี่ยว ประกอบด้วย screw rotor 1 ตัวและ star gear 2 ชุด ที่ชุดเกียร์ดาว จะประกบด้วยแผ่นเบรด (blade) ทำจากคาร์บอนผสมพิเศษ ใบเบลดจะแนบติดกับเฟืองสกรูโรเตอร์ เมื่อโรเตอร์หมุน ร่องเฟืองซึ่งถูกปิดด้วยใบเบลดจะสั้นลงเรื่อยๆ อากาศที่อยู่ในร่องเฟืองจึงถูกบีบเข้าเรื่อยๆ จนถึงรู discharge

Compressed Air Quality Audit การตรวจวัดคุณภาพของลมอัด

การตรวจวัดคุณภาพของลมอัด (Compressed Air Quality Audit)
คงทราบแล้วว่าอุตสาหกรรมบางประเภทต้องการลมอัดที่มีคุณภาพดี เพื่อเป็นมาตาฐานทางการผลิตและผลิตภันฑ์ แต่เราจะทราบได้อย่างไรว่าลมอัดที่เราใช้อยู่มีคุณภาพเป็นอย่างไรอ้างอิงมาตรฐานได และวัดอะไรบ้างมีวิธีการวัดอย่างไร 

อันตรายจากการใช้ลมเครื่องปั๊มลม 10 ข้อ


ข้อเท็จจริง 10 ประการ เกี่ยวกับอันตรายจากการใช้ลมเครื่องปั๊มลม 10 ข้อ รู้ไว้ปลอดภัยกว่า แล้วมันมีอะไรบ้างละ และมันมีวิธีการป้องกันอย่างไง หรือ แก้ไข อย่างไรกัน มาหาคำตอบกันเลย