ความหนืดคือคุณสมบัติพื้นฐานที่สำคัญที่จะต้องนำมาพิจารณาเป็นลำดับต้นๆในการเลือกใช้น้ำมันเครื่องให้เหมาะสมกับเครื่องยนต์ น้ำมันเครื่องที่มีความหนืดต่ำจะให้ฟิล์มหล่อลื่นที่บาง ทำให้ไม่สามารถรับภาระน้ำหนักได้มากแต่สามารถแทรกตัวไปตามส่วนต่างๆที่ต้องการหล่อลื่นได้อย่างรวดเร็วและระบายความร้อนได้ดี ช่วยให้เครื่องยนต์ไม่ต้องทำงานหนักมากไป และประหยัดเชื้อเพลิง ในทางกลับกันน้ำมันเครื่องที่มีความหนืดสูงจะให้ฟิล์มหล่อลื่นที่หนาจึงสามารถรับภาระแรงกดได้ดีกว่า แต่ต้องเสียพลังงานในการเฉือนฟิล์มน้ำมันมากขึ้นอีก ทำให้ระบายความร้อนได้ช้าถ้าเป็นรถยนต์ก็อาจทำให้รถวิ่งไม่ออก และสิ้นเปลืองเชื้อเพลิง ตัวอย่างการบอกค่าความหนืดของน้ำมันเครื่อง เช่น 5w-30 และ 10w-40 ตัวเลข 30 และ 40 เป็นตัวเลขที่บ่งบอกค่าของความหนืด 30 จะมีค่าความหนืดต่ำกว่า 40 โดยปรกติแล้วความหนืดจะแปรเปลี่ยนไปตามอุณหภูมิ กล่าวคือความหนืดจะเพิ่มมากขึ้นเมื่อใดที่อุณหภูมิลดลงและความหนืดจะลดลงเมื่ออุณหภูมิเพิ่มมากขึ้น จากปัจจัยดังกล่าวน้ำมันเครื่องที่ใช้กับเครื่องยนต์ต้องทำงานได้ในช่วงที่อุณภูมิกว้าง คือตั้งแต่อุณหภูมิต่ำในขณะที่จอดและดับเครื่องยนต์อยู่เฉยๆ ไปจนถึงช่วงอุณภูมิสูงและร้อนจัดในตอนที่เคองยนต์ต้องทำงานหนัก จึงจำเป็นต้องมีการเติมสารบางชนิดที่จะสามารถช่วยให้ความหนืดมีความคงตัวสูง คือไม่เปลี่ยนแปลงไปตามค่าของอุณหภูมิ อันจะช่วยให้การหล่อลื่นเกิดความประสิทธิภาพสูงสุด ดังนั้น ก่อนเลือกใช้น้ำมันเครื่องทุกครั้ง นอกจากการเลือกยี่ห้อที่เราเชื่อถือได้ มีตรารับรองจากหน่อยงานที่เกี่ยวข้องยังต้องเลือกน้ำมันเครื่องที่มีค่าของความหนืดที่เหมาะสมกับรถยนต์ของคุณๆอีกด้วย
จำหน่ายสินค้าโรงงานอุตสาหกรรม ได้แก่ เครื่องปั๊มลม เครื่องทำลมแห้ง ถังพักลม ไส้กรองอากาศ ไส้กรองปั๊มลมทุกยี่ห้อ รวมทั้งน้ำมันทุกประเภท เช่น AUGUST, COMPTECH, KOBELCO, ATLAS COPCO, HITACHI, MANN FILTER, DONALDSON, SOTRAS, SHELL
การแบ่งประเภทสารลดฟองทางเคมี
สารลดฟอง
สารลดฟอง หรือ สารป้องกันการเกิดฟอง คือ สารเคมีปรุงแต่งชนิดหนึ่งที่สามารถใช้ลดหรือขัดขวางการเกิดฟองได้ ในอุตสาหกรรมต่าง ๆ ที่มีของเหลวมาเกี่ยวข้อง นิยามของคำว่าสารป้องกันฟอง (Antifoam) หรือสารลดฟอง (Defoamer) นั้น จะใช้สลับไปมาอยู่บ่อย ๆ ในบางครั้ง
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)